ประวัติบาสเกตบอลของโลก(History of Basketball in The World)
บาสเกตบอลมีประวัติยาวนานกวา 100 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 โดย Dr.James Naismith อาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนคนงานคริสเตียน ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟิล ( Springfield College )เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส สหรัฐอเมริกา ( Massachusetts, USA. ) ขณะนั้นผู้ฝึกสอนฟุตบอลของโรงเรียนต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มสำหรับนักเรียนระหว่งฤดูหนาว และได้กำหนดกติกาพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้
1.) ผู้เล่นใช้มือเล่นลูกบอล
2.) ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลวิ่ง
3.) ผู้เล่นสามารถยืนตำแหน่งใดก็ได้ในสนาม
4.) ผู้เล่นห้ามปะทะหรือถูกต้องตัวกัน
5.) ห่วงประตูติดตั้งไว้เหนือพื้นสนามขนานกับเส้นเขตสนาม
Dr.James Naismith ได้ใช้ไม้รูปร่างคล้ายผลท้อจัดทำเป็นห่วงประตู ติดตั้งไว้ที่ระเบียงห้องโถงตามความสูงของระเบียง ประมาณ 10 ฟุต
ครั้งแรกใช้ลูกฟุตบอลโดยมีคนนั่งบนราวบันไดเพื่อหยิบลูกบอลออกจากประตูเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ต่อมา Dr.James Naismith ได้กำหนดหลักการเล่นขึ้น 13 ข้อ เป็นพื้นฐานของกติกาโดยใช้ทักษะมากกว่าการใช้แรง
พ.ศ.2435 ได้พิมพ์ลงในนิตยสาร ‘Triangle magazine' ใช้หัวข้อว่า ‘A New Game'
กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ
1 สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
2 สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
3 ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
4 ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
5 ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
6 การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
7 หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
8 เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเสข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
9 เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
10 กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
11 ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
12 เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
13 เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้
พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1
พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังตงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม
มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร
พ.ศ. 2437 บาสเกตบอลแยกออกมาจากฟุตบอล โดยมีคณะกรรมการบาสเกตบอล
- ในปีเดียวกันนี้มีการรับรองกระดานหลัง ซึ่งมีขนาด 1.8 เมตร * 1.2 เมตร
- กำหนดให้มีการโยนโทษ
- เกิดการคิดค้นห่วงประตู มีตาข่ายติดกับห่วงประตูด้วยเส้นเชือก เมื่อเชือกนั้นถูกดึงจะทำให้ลูกบอลผ่านไปได้ และยกเลิกการใช้บันไดตั้งแต่บัดนั้น
- เริ่มการแข่งขันบาสเกตบอลหญิงเป็นครั้งแรกที่ นอร์ตแฮมตัน (Northamton)
พ.ศ. 2439 เปลี่ยนแปลงกติกาเรื่องการนับคะแนนจากการยิงประตูธรรมดา เป็น 2 คะแนน และนับคะแนนจากการโยนลูกโทษ 1 คะแนน
- เกิดการแข่งขันระดับวิทยาลัยเป็นครั้งแรกระหว่าง ชิคาโก (Chicago) กับโลวา (Lowa) โดยให้มีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน ผลการแข่งขัน ชิคาโก ชนะ 15:12 ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
- Dr.James Naismith ควบคุมกติกา จนกระทั่งมีการจัดตั้งสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นและได้บรรจุกติกาและการเปลี่ยนแปลง
พ.ศ. 2440 สหพันธ์ได้กำหนดกติกาโดยให้ทีมมีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน และเป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้การเล่นบางครั้งมีผู้เล่นมากกว่า 50 คน ของแต่ละฝ่ายในสนาม
พ.ศ. 2448 ได้ขยายเข้าไปในโรงเรียนมัธยม,มหาวิทยาลัย,สมาคม โบสถ์ และทหาร
- นักศึกษาโรงเรียนกีฬาสปริงฟิลได้นำเผยแพร่ ณ ประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2452 มีการนำกระดานหลังชนิดกระจกใสเป็นครั้งแรก และได้รับการรับรองในกติกา และผู้เล่นที่ฟาล์วครบ 4 ครั้งให้เป็นฟาล์วเสียสิทธ์
- ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การแข่งขันบาสเกตบอลได้หยุดชะงักลง ระหว่างนั้นทหารอเมริกัน,ผู้ฝึกสอน และ Dr.James Naismith นำบาสเกตบอลเข้าไปยุโรปเป็นนวัตกรรมการแข่งขัน
พ.ศ. 2463 มีการแข่งขัน Inter-Allied Game เป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส (Paris) ผลการแข่ง ขันสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะฝรั่งเศส (France)และอิตาลี (Italy) โดยถือเป็นการแข่งขันระหว่างชาติเป็นครั้งแรก และเป็นการเริ่มต้นไปสู่การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลก
พ.ศ. 2466 กำหนดการฟาล์วผู้เล่นยิงประตูโทษโดยแยกจากการฟาล์วอื่น ๆ กล่าวคือ การ ฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นกำลังยิงประตูจะต้องมีการโยนโทษ
พ.ศ. 2467 เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ณ กรุงปารีส (Paris)
พ.ศ. 2470 Abe Saperstein ติดต่อกับ Harlem Gloketrotters. ซึ่งเป็นผู้เล่นจากชิคาโก และ แข่งขันกันครั้งแรกที่ Hinebluy มลรัฐ Illinois ตั้งแต่นั้นมีส่วนทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจกีฬาบาสเกตบอลเพิ่มขึ้นกว่า 100 ประเทศ
พ.ศ. 2472 จัดตั้งโรงเรียนพลศึกษา ขึ้นที่ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยได้รับความร่วมมือจาก วิทยาลัยสปริงฟิล (Springfield College)
พ.ศ. 2475 บาสเกตบอลเป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และสามารถกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลเป็นกีฬามาจาก สหรัฐอเมริกา (USA.)
- สมาคมบาสเกตบอล ได้จัดการประชุมสัมมนา ณ กรุงเจนีวา (Genrva) และได้มีประเทศก่อตั้งสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ (FIBA) รวม 8 ประเทศ
FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
- แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ 5 คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ 2 คน 2 ครั้ง
- ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด ณ วงกลมกลาง
- มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ 4 ปี ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
- การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
- FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
+ ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
+ จำกัดความสูงของผู้เล่น
+ ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
+ ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
+ แบ่งสนามเป็นสองส่วน
+ เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
+ ฟาล์วบุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต
พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
- เริ่มนำกติกาว่าด้วย 3 วินาที
- ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
- เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก 5 คน เป็น 7 คน
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
- ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
- ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
- ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู
พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA
พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)
พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston) ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94
พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- เพิ่มฟาล์วบุคคลเป็น 5 ครั้ง (Foul-out)
- เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน
พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)
พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที
พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
- กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
- FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
- เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู , การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
- เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ
พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
- 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาล์วบุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ 2 ครั้ง
- กระทำฟาล์วแล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
- ทั้งสองทีมทำฟาล์วซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน 2 ครั้งและครอบครองบอล
- การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน
พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
- FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
- เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลค้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
- กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
- 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
- หากเกิดฟาล์วทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ
FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิก 3 นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วผู้เล่นที่ไม่มีบอล ให้ส่งบอลเข้าเล่น
- การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาล์วเพื่อทำให้ ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู
พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาล์วช่วงใหล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาล์วเฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
- “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาล์วครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง ” สำหรับการฟาล์วของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง
พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาล์วทีมครบ 10 ครั้ง
พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
- ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาล์วทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ 2 ครั้ง
- ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน 3 ครั้ง หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ 1 ครั้ง
พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ลดจำนวนการฟาล์วทีมรวม เหลือ 8 ครั้ง
- ฟาล์วเทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนครบ 3 ครั้ง ให้เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
- ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนดผู้เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการกระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น )
พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
- เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
- ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
- ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
- ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
- กำหนดเขตที่นั่งทีม
- หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
- ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
- ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
- ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
- ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team' ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
- กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4x12 นาที
- การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
- ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
- สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
- เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา' เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา'
- ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1' ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
- หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
- จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
- ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)'
- เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี' ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
- 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
- ผู้เล่นผ่ายรุกปละฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
- บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
- ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ' ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
- ฟาล์วทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
- ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
- ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
- เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วงประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
- ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
- ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
- FIFA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
- สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เดกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
- ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินในสนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ
เอ็นบีเอ - NBA
ในปี พ.ศ. 2489 ถือกำเนิดลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) ก่อตั้งโดยรวบรวมทีมอาชีพชั้นนำ และทำให้กีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพได้รับความนิยมสูงขึ้น ปี พ.ศ. 2510 มีการจัดตั้งลีกเอบีเอ (American Basketball Association, ABA) ขึ้นอีกลีกมาเป็นคู่แข่งอยู่พักหนึ่ง ลีกทั้งสองก็ควบรวมกันในปี พ.ศ. 2519ในเอ็นบีเอมีผู้เล่นมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จอร์จ มิคาน (George Mikan) ผู้เล่นร่างใหญ่ที่โดดเด่นคนแรก บอบ คอสี (Bob Cousy) ผู้มีทักษะการครองบอล บิล รัสเซล (Bill Russell) ผู้ที่เก่งด้านการตั้งรับ วิลท์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain) รวมถึง ออสการ์ รอเบิร์ตสัน (Oscar Robertson) และ เจอร์รี เวสต์ (Jerry West) ผู้ที่เก่งในรอบด้าน คารีม อับดุล-จับบาร์ (Kareem Abdul-Jabbar) และ บิล วอลตัน (Bill Walton) ผู้เล่นร่างยักษ์ในยุคหลัง จอห์น สต็อกตัน (John Stockton) ผู้ที่มีทักษะการคุมเกม ตลอดจนผู้เล่นสามคนที่ทำให้เอ็นบีเอได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด คือ แลร์รี เบิร์ด (Larry Bird) แมจิก จอห์นสัน (Magic Johnson) และ ไมเคิล จอร์แดน (Michael Jordan)
ลีกดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ (Women's National Basketball Association, WNBA) สำหรับบาสเกตบอลหญิงเริ่มเล่นในปี พ.ศ. 2540 ถึงแม้ว่าในฤดูกาลแรกจะไม่ค่อยมั่นคงนัก นักกีฬามีชื่อหลายคน เช่น เชอริล สวูปส์ (Sheryl Swoopes), ลิซา เลสลี (Lisa Leslie) และ ซู เบิร์ด (Sue Bird) ช่วยเพิ่มความนิยมและระดับการแข่งขันของลีก ลีกบาสเกตบอลหญิงอื่น ๆ ล้มไปเนื่องจากความสำเร็จของดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ
กฎและกติกาของ NBA
จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.25 เมตร (20 ฟุต 5 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาล์วมีค่าหนึ่งคะแนน
เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก
เทคนิคพื้นฐาน
ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง
ถึงแม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนใน การเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น พอยท์การ์ด (หรือการ์ดจ่าย) ชู้ตติ้งการ์ด สมอลฟอร์เวิร์ด เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด และ เซ็นเตอร์ ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า three guard offense
การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้าง ๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม
โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม
การชู้ต
การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต (set shot) และ จัมพ์ช็อต (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ
การส่งบอล
ในการส่งบอล (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือการส่งระดับอก (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
การส่งแบบข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือขโมยลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่าการส่งสกิป (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น
การเลี้ยงลูก
การเลี้ยงลูกเป็นบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
การเล่นรูปแบบอื่น ๆบาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ ฮาล์ฟคอร์ต (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้องเคลียร์ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต
ประวัติกีฬาบาสเก็ตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการ
เล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู
กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก
ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของ
โรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ
(International Young Men’s Christian Association Training School)
ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔)
โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball)
การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ
๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น
ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจาก
ในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยัง
ลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษา
เมืองสปริงฟีลด์ คือ
๑. การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้
๒. การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้
๓. ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วย
ความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
๔. ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง โดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย
๕ . การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่สอง
ให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว
๖. การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5
๗ . ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
๘. การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า
๙. เมื่อลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอล
เข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลา
การเล่นให้ปรับฟาวล์
๑๐.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น
๑๑.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ได้ และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน
๑๒.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที
๑๓.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากัน
เพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙
(พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่
ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่น
เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้ ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับ
นานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น
ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ
ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
อย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายนพคุณ
พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ ๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น
เป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา
พ.ศ ๒๔๙๕ ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และ
การแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป
พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖
ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา
คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา
องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่
สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร
การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป
ประโยชน์ของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นได้รับประโยชน์ดังนี้
๑. ช่วยพัฒนาส่งเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์และสังคมแก่บุคคล
๒. ช่วยพัฒนาส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor skills) ให้ทำงานประสาน
กันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
๓. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียด แก่ผู้เล่นและผู้ชม
๔. ช่วยฝึกการตัดสินใจ และรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิที่ดี
๕. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักให้อภัย
๖. ใช้เป็นสื่อนำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม
๗. ใช้เป็นสื่อนำในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา
๘. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ
๙. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลอาชีพ
เป็นต้น
ความปลอดภัยในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล
การเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นการเล่นหลายคนและเล่นด้วยความรวดเร็วต้องใช้ความ
คล่องตัว สูงในสนามที่มีเนื้อที่จำกัด ะนั้นผู้เล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดขึ้น
ได้ตลอดเวลาของการเล่นเพื่อความปลอดภัยในการ เล่นกีฬาบาสเกตบอล ผู้เล่นจึงควรมีหลัก
ปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. ควรมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเล่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายจากการออก
กำลังกาย
๒. ก่อนการเล่นควรตรวจสภาพของสนามให้เรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง พื้นสนามต้องเรียบ
ไม่ลื่น ไม่มีหลุม บ่อ ไม่มีสิ่งกีดขวาง เสาและห่วงประตูอยู่ในสภาพใช้งานได้
๓. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นบาสเกตบอล สวมเสื้อ กางเกง ถุงเท้า
รองเท้า ที่ไม่หลวม หรือคับเกินไป
๔. ลูกบอลต้องไม่อ่อน หรือแข็งเกินไป
๕. ในการเล่นต้องปฏิบัติตามกติกาโดยเคร่งคัด ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อนระหว่าง
การเล่นหรือขณะฝึกซ้อม
๖. ไม่เล่นหรือฝึกซ้อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกาย
๗. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้เล่นอื่น และเพื่อป้องกันอันตรายขณะ
รับลูกบอล
๘. ควรฝึกจากทักษะที่ง่าย ไปหาทักษะที่ยาก หรือฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
๙. ไม่เล่นในที่มืด หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ
๑๐.ไม่ควรฝึกในสนามกลางแจ้ง แดดร้อนจัด หรือฝนตกฟ้าร้อง
๑๑.ไม่ใส่เครื่องประดับเช่น นาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอหรือเข็มขัด เพราะจะเป็น
อันตรายแก่ตนเอง และผู้อื่นได้
๑๒.ไม่ควรใส่แว่นตาระหว่างการเล่น ถ้าจำเป็นควรใช้แว่นที่เป็นพลาสติก หรือชนิดที่ไม่
แตก และให้มียางรัดติดกับท้ายทอยด้วย
๑๓.ในกรณีที่จะมีการแข่งขัน ควรฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพดีพร้อมที่จะเข้า
แข่งขันได้
๑๔.ถ้าตนเองไม่ได้ฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอไม่ควรลงแข่งขันโดยเด็ดขาด
การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาบาสเกตบอล
การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬาบาสเกตบอล
๑. ไม่นำลูกบาสเกตบอลมาใช้เป็นที่รองนั่ง หรือยืนจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง
๒. อุปกรณ์การเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องสำรวจดูให้ครบถ้วนและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
๓. ห้ามกระโดดเกาะ โยกเสาประตูหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น
๔. จัดเวรนำอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์ไปไว้ในที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
๕. ลูกบาสเกตบอลควรสูบลมให้มีความแข็งถูกต้องตามกติกา
๖. ในการปล่อยลมลูกบาสเกตบอลไม่ควรใช้ไม้ ลวด ตะปู หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่ใช่เครื่องปล่อยลม
๗.ห้ามนำลูกบาสเกตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่นนำไปเตะ
๘. ถ้าลูกบาสเกตบอลเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาดเก็บไว้ในที่ร่ม
มีลมพัดผ่านแทนการผึ่งแดด
๙. รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด และเส้นสนามควรชัดเจนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเล่น
๑๐.สำรวจเสาประตู กระดานหลัง หรือห่วงให้แน่นหนาแข็งแรง และปลอดภัย
๑๑.ตาข่ายควรใช้เทปหรือลวดพันยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ
๑๒.สนับเข่า ผ้าพันข้อเท้า ชุดฝึกหรือชุดแข่งขันควรซัก และตากให้แห้งและอยู่ในสภาพ
ที่พร้อมใช้ได้เสมอ
มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
มารยาทของผู้เล่นกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
๒. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
๓. เล่นกีฬาด้วยความสนุกสนานและมีมารยาท มีความสุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
๔. ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
๕. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
๖. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
๗. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง
๘. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
๙. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
๑๐. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
๑๑. ต้องเล่นตามระเบียบตามกติกาที่กำหนดไว้
๑๒. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอน และต้องปฏิบัติตาม
๑๓. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
๑๔. รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
๑๕. ไม่ครอบครองลูกบอลแต่เพียงผู้เดียวต้องแจกจ่ายให้เพื่อนร่วมทีมบ้าง
๑๖. เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
๑๗. การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ
๑๘. หลังจากการแข่งขันแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะจะต้องฝึกซ้อมให้ดียิ่งขึ้น
๑๙. มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน
๒๐. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน
๒๑. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
มารยาทของผู้ชมกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นได้ดี ผู้เล่นมีมารยาทดี ทีมชนะการแข่งขันหรือผู้เล่น
ที่ได้รับรางวัล
๒. ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ
๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า ใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา ผู้ตัดสิน ผู้ชม
หรือคัดค้านการตัดสิน
๔. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน
๕. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน
๖. นั่งดูด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น
๗. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาลงสนาม
๘. ควรศึกษากฏกติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดูเป็นอย่างดี
๙. การชมเป็นหมู่คณะ ควรนั่งรวมกันเป็นกลุ่มและเชียร์ด้วยเพลงสุภาพ
๑๐.ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายในสนาม
๑๑. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกชนิดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
๑๒. ไม่ควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
ความเป็นผุ้มีน้ำใจนักกีฬา
ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ
ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสิน
ไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดง
ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ
๑. ปฏิบัติตามกฏกติกาของการเล่น
๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง
๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส
๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ
๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น
๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า
๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ
๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน
๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่
๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง
๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ
๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล
๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม
๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
วิธีการ 1 จาก 2: ท่าครอสโอเวอร์เบื้องต้น
1.ฝึกทักษะการเลี้ยงลูก: ก่อนที่จะทำครอสโอเวอร์ได้ คุณต้องมีทักษะการครองบอล รวมถึงการเลี้ยงและควบคุมลูกบาสให้ดีเสียก่อน การจะทำท่าครอสโอเวอร์ได้สมบูรณ์นั้น คุณจะต้องเลี้ยงลูกได้ดีทั้งสองมือ และสามารถพาบอลไปทิศทางใดก็ได้
2.หลอกล่อคู่ต่อสู้ในด้านที่คุณถนัด: ชำเลืองตาหลอกฝ่ายที่ป้องกัน ถือบอลข้างที่คุณถนัด ตามองไปที่สะโพกและลำตัวของฝ่ายตรงข้าม แทนที่จะมองมือหรือเขา เมื่อเห็นว่าฝ่ายที่ป้องกันขยับสะโพกไปยังด้านที่คุณตั้งใจจะหลอก นั่นแสดงว่าคุณหลอกได้สำเร็จแล้ว [1]
- ลองหลอกไปทางข้างที่คุณไม่ถนัด แล้วเคาะบอลกลับมาข้างที่ถนัดดูบ้าง เพื่อให้คู่ต่อสู้เดาทางได้ยากขึ้น
3.ทำท่าลังเล: ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้คู่ต่อสู้ตกหลุมพรางได้มากที่สุดในการทำครอสโอเวอร์ ขณะที่กำลังเคาะบอลขึ้น ผู้เล่นบางคนจะโขยกตัวทำทีว่าจะพุ่งไปข้างที่ถนัด จังหวะนี้จะเป็นช่วงที่บอลอยู่ในมือของคุณ เทคนิคตรงนี้จึงอยู่ที่การหลอกล่อมากกว่าการเลี้ยงบอล
- ลองศึกษาและทำตามจากวีดีโอนักบาสเกตบอลที่โด่งดังในการทำครอสโอเวอร์ ระวังอย่าใช้มือจับบอล เพราะจะผิดกติกา
4.ย่อตัวลงต่ำและกางขากว้างๆ: เนื่องจากในการทำครอสโอเวอร์ จะต้องมีการเคาะบอลผ่านหน้าฝ่ายที่ป้องกัน คุณจะต้องย่อตัวให้ต่ำ และใช้ขาข้างที่ถนัดตั้งนำ อัลเลน ไอเวอร์สัน เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของนักบาสที่แม้ว่าจะเลี้ยงบอลไกลตัว แต่ก็ยังสามารถคุมจังหวะเคาะบอลได้ดี นอกจากนี้ คุณจะต้องทำเหมือนกับว่าคุณอยากไปในทิศทางที่คุณจะหลอกจริงๆ ที่สำคัญ อย่าเปิดโอกาสให้ฝ่ายป้องกัน แย่งบอลจากคุณได้ด้วย
- ขณะที่กำลังทำครอสโอเวอร์ พยายามอย่ามองที่ลูกบาส ให้มองไปที่ฝ่ายป้องกันและพื้นสนาม เพื่อหาพื้นที่ว่าง หรือเพื่อนร่วมทีมที่ว่างอยู่ รวมถึงทางเลือกอื่นๆ
5.เคาะบอลข้ามมาอีกฝั่ง: เมื่อผู้เล่นฝั่งตรงข้ามเผลอขยับไปในทิศทางที่คุณต้องการจะหลอก ให้เคาะบอลข้ามฝั่งมายังอีกมือหนึ่งอย่างรวดเร็ว ณ จุดนี้ คุณจะมีช่องว่างพอที่จะชู้ตลูก หรือส่งบอลให้กับเพื่อนร่วมทีมได้ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ดังนั้นคุณต้องตัดสินใจให้เร็วว่าจะทำอะไรต่อ หลังจากที่ทำครอสโอเวอร์แล้ว หมั่นซ้อมให้เกิดความเคยชินจนเป็นท่าครอสโอเวอร์ที่สมบูรณ์
1.เลี้ยงบอลไขว้หลัง: แทนที่จะเคาะบอลผ่านหน้าคู่ต่อสู้ ซึ่งอาจจะเสี่ยงถูกแย่งบอลได้ ลองเคาะบอลไขว้หลัง เพื่อเปลี่ยนทาง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะคุณสามารถใช้ตัวบังบอล และสะบัดคู่ต่อสู้หลุดได้
- ฝึกเลี้ยงลูกบาสไขว้หลังให้ชำนาญก่อนที่จะใช้ท่านี้ เพราะคุณจะมองไม่เห็นบอลขณะที่เลี้ยง ซึ่งจะทำให้ควบคุมลูกบาสได้ยาก
- ลองเคาะบอลลอดหว่างขาจากด้านหลังมาด้านหน้า หรือจากข้างที่ไม่ถนัดมาข้างที่ถนัด ระหว่างที่คุณทำท่าลังเล หลอกคู่ต่อสู้ว่าจะไปข้างที่ถนัด ก่อนที่จะเคาะลูกบาสลอดขาจากด้านหน้ากลับไปด้านหลังอีกครั้ง
3.ครอสโอเวอร์ 2 ชั้น: ถ้าคุณใช้ท่านี้บ่อยเกินไป บางครั้งฝ่ายที่ป้องกันอาจจะจับได้ และเลือกที่จะปักหลักยืนอยู่ตรงกลางขณะที่คุณทำครอสโอเวอร์ ให้เคาะลูกบาสไปยังข้างที่คุณถนัด และพุ่งไปในทางที่คุณพยายามจะหลอกในตอนแรก ท่าครอสโอเวอร์ 2 ชั้น นี้อาจได้ผลถึงขนาดทำให้คู่ต่อสู้ล้มหัวคะมำไจึงทำให้ท่าครอสโอเวอร์ เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “ท่าหักข้อเท้า”
4.ใช้ความคิดสร้างสรรค์: ลองผสมผสานการเลี้ยงลูกลอดขา และเปลี่ยนทิศทางหลายๆ แบบดู เพื่อเพิ่มความอันตรายให้กับเกมรุกของคุณ ท่าครอสโอเวอร์แบบพื้นฐานจริงๆ แล้วเป็นเพียงการเลี้ยงลูกอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่หลังจากที่คุณฝึกจนชำนาญ และทำครอสโอเวอร์ได้จนสมบูรณ์แบบแล้ว ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคุณแล้วล่ะ
ขนาดมาตรฐานของสนามบาสเก็ตบอล
ตามมาตรฐานของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) กำหนดไว้ที่ ยาว 28 เมตร กว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นสนาม ส่วนขนาดสนามที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตร กว้าง 14 เมตร กรณีเป็นสนามในร่ม ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร
ตามมาตรฐานของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) กำหนดไว้ที่ ยาว 28 เมตร กว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นสนาม ส่วนขนาดสนามที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตร กว้าง 14 เมตร กรณีเป็นสนามในร่ม ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร
ห่วง (The Rings)
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร
ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนาม
คำศัพท์เกี่ยวกับ Basketball
Tip-in : ทำแต้มโดยการเก๊บลูกบาสที่กระเด้งออกมาจากห่วงในทันที
Tab Dunk : ทำแต้มโดยการเก๊บลูกบาสที่กระเด้งออกมาจากห่วงในทันทีโดยการ Dunk
Dream Shake : หลอกฝ่ายตรงข้ามว่าจะทำแต้มโดยการยืนหันหลังให้แป้นแล้วโยกตัวหลอก
Double Clutch : Lay up ในจังหวะแรกแล้วดึงจังหวะมาปล่อยลูกบาสในจังหวะสอง
Diving Catch : กระโดดพุ่งตัวไปคว้าลูกบาสที่ตกอยู่บนพื้นมา
Fade Away : ทำแต้มโดยการกระโดดถอยไปข้างหลังแล้ว Shoot
Alley-Oops : คือการส่งบอลให้เพื่อนที่ลอยตัวอยู่กลางอากาศแล้วทำแต้ม
SkyHook : ทำแต้มโดยการหันข้างลำตัวเข้าหาแป้นแล้วใช้มือด้านที่ไกลแป้นที่สุด Shoot ลูกบาสเข้าหาห่วง
Dunk : ทำแต้มโดยการจับลูกบาสยัดลงไปในห่วง
Lay Up : กระโดดแล้วปล่อยลูกบาสลงห่วงอย่างนิ่มนวล
Shoot : การที่ปล่อยลูกบาสออกจากมือ เพื่อทำแต้ม
Fast Brake : บุกฝ่ายตรงข้าม และทำแต้มอย่างรวดเร๊ว
The Pick and Roll : การที่จะใช้วิธีการนี้คือต้องให้เพื่อนมา Screen คู่ต่อสู้ที่มาประกบตัวเราเองก่อนแล้วหลังจากนั้นรอดูว่า ตัวที่ตามประกบเพื่อนคนที่มา Screen เรานั้นตามมาด้วยหรือไม่ถ้าตามมา รอจังหวะที่เพื่อนคนที่ Screen วิ่งฉีกออกไปแล้วตัวเราก้จะถูกคู่ต่อสู้ประกบถึง 2 คน ( Double Team ) เพื่อนเราก้จะว่างในจังหวะนั้นให้จ่ายบอลไปที่เพื่อนคนนั้นได้เลย
The Pump Fake and Move : ยืนตั้งท่าในเขต 3 แต้ม หรือ 2 แต้มก้ได้ แล้วรอทีมคู่ต่อสู้เข้ามาป้องกัน จังหวะทำท่าว่าจะยิงทำแต้มแต่ไม่ยิง พอคู่ต่อสู้กระโดด Block เราก้ส่งบาสให้เพื่อนร่วมทีมแล้ววิ่งหาตำแหน่งว่างแล้วรอเพื่อนในทีมส่งบาสมาหลังจากนั้นก้ยิงทำแต้ม
Open Passing Lane : พยายามและมั่นใจว่าไม่มีคู่ต่อสู้ยืนอยู่ระหว่างคุณกับเพื่อนแล้วจึงค่อยส่งบอลให้ เพื่อที่จะลดโอกาส
การโดนทำ Turnovers
Post : เป๊นการเข้าไปในแดนฝั่งตรงข้ามเพื่อหาตำแหน่งที่จะทำแต้มได้ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ Low Post และ High Post
-Low Post เป๊นการยืนหาตำแหน่งบริเวณใต้แป้นบาส
-High Post เป๊นการยืนหาตำแหน่งบริเวณเส้นจุดโทษ
Quadruple-Double :เป๊นศัพท์บาสเกตบอล ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 4 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ( ควอด หมายถึง สี่อย่าง ส่วน ดีบเบิ้ล ก้คือ สองหลัก )
Double-Double : เป๊นศัพท์บาสเกตบอล ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 2 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ที่พบบ่อยที่สุดคือทำได้ 10 แต้ม 10 รีบาวด์
Triple-Double : ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 2 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ที่พบบ่อยที่สุดคือทำได้ 10 แต้ม 10 รีบาวด์ 10 แอสซิสต์ เป๊นต้น
Hook Shoot : เอียงตัวแล้ว เหวี่ยงบอลเข้าหาห่วง โดยการเอาลำตัวหรือมือส่วนหนึ่งบังฝ่ายตรงข้ามไว้
Tab Dunk : ทำแต้มโดยการเก๊บลูกบาสที่กระเด้งออกมาจากห่วงในทันทีโดยการ Dunk
Dream Shake : หลอกฝ่ายตรงข้ามว่าจะทำแต้มโดยการยืนหันหลังให้แป้นแล้วโยกตัวหลอก
Double Clutch : Lay up ในจังหวะแรกแล้วดึงจังหวะมาปล่อยลูกบาสในจังหวะสอง
Diving Catch : กระโดดพุ่งตัวไปคว้าลูกบาสที่ตกอยู่บนพื้นมา
Fade Away : ทำแต้มโดยการกระโดดถอยไปข้างหลังแล้ว Shoot
Alley-Oops : คือการส่งบอลให้เพื่อนที่ลอยตัวอยู่กลางอากาศแล้วทำแต้ม
SkyHook : ทำแต้มโดยการหันข้างลำตัวเข้าหาแป้นแล้วใช้มือด้านที่ไกลแป้นที่สุด Shoot ลูกบาสเข้าหาห่วง
Dunk : ทำแต้มโดยการจับลูกบาสยัดลงไปในห่วง
Lay Up : กระโดดแล้วปล่อยลูกบาสลงห่วงอย่างนิ่มนวล
Shoot : การที่ปล่อยลูกบาสออกจากมือ เพื่อทำแต้ม
Fast Brake : บุกฝ่ายตรงข้าม และทำแต้มอย่างรวดเร๊ว
The Pick and Roll : การที่จะใช้วิธีการนี้คือต้องให้เพื่อนมา Screen คู่ต่อสู้ที่มาประกบตัวเราเองก่อนแล้วหลังจากนั้นรอดูว่า ตัวที่ตามประกบเพื่อนคนที่มา Screen เรานั้นตามมาด้วยหรือไม่ถ้าตามมา รอจังหวะที่เพื่อนคนที่ Screen วิ่งฉีกออกไปแล้วตัวเราก้จะถูกคู่ต่อสู้ประกบถึง 2 คน ( Double Team ) เพื่อนเราก้จะว่างในจังหวะนั้นให้จ่ายบอลไปที่เพื่อนคนนั้นได้เลย
The Pump Fake and Move : ยืนตั้งท่าในเขต 3 แต้ม หรือ 2 แต้มก้ได้ แล้วรอทีมคู่ต่อสู้เข้ามาป้องกัน จังหวะทำท่าว่าจะยิงทำแต้มแต่ไม่ยิง พอคู่ต่อสู้กระโดด Block เราก้ส่งบาสให้เพื่อนร่วมทีมแล้ววิ่งหาตำแหน่งว่างแล้วรอเพื่อนในทีมส่งบาสมาหลังจากนั้นก้ยิงทำแต้ม
Open Passing Lane : พยายามและมั่นใจว่าไม่มีคู่ต่อสู้ยืนอยู่ระหว่างคุณกับเพื่อนแล้วจึงค่อยส่งบอลให้ เพื่อที่จะลดโอกาส
การโดนทำ Turnovers
Post : เป๊นการเข้าไปในแดนฝั่งตรงข้ามเพื่อหาตำแหน่งที่จะทำแต้มได้ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ Low Post และ High Post
-Low Post เป๊นการยืนหาตำแหน่งบริเวณใต้แป้นบาส
-High Post เป๊นการยืนหาตำแหน่งบริเวณเส้นจุดโทษ
Quadruple-Double :เป๊นศัพท์บาสเกตบอล ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 4 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ( ควอด หมายถึง สี่อย่าง ส่วน ดีบเบิ้ล ก้คือ สองหลัก )
Double-Double : เป๊นศัพท์บาสเกตบอล ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 2 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ที่พบบ่อยที่สุดคือทำได้ 10 แต้ม 10 รีบาวด์
Triple-Double : ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำ 2 อย่างจาก 5 อย่างต่อไปนี้ คือ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล๊อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ที่พบบ่อยที่สุดคือทำได้ 10 แต้ม 10 รีบาวด์ 10 แอสซิสต์ เป๊นต้น
Hook Shoot : เอียงตัวแล้ว เหวี่ยงบอลเข้าหาห่วง โดยการเอาลำตัวหรือมือส่วนหนึ่งบังฝ่ายตรงข้ามไว้
คำศัพท์การทำฟาวล์ ( Foul )
Foul : การทำผิดกฎกติกา
Traveling / Walking : คือการเคลื่อนขาหลักออก แล้วไม่ส่งหรือชู๊ต
Double dribbling : การเลี้ยงบอลโดยการ เบิ้ลบอล
Pushing : การผลักผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Hoding : การดึง/เหนี่ยวผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Blocking : การขวางทางผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Charging : การพุ่งกระแทกผู้เล่นฝ่ายรับ
Basket interfere : การที่ฝ่ายตั้งรับกระโดดปัดลูกบอล ทั้ง ๆ ที่ลูกบาสกำลังเข้าหาห่วงถือเป๊นการผิดกติกา และทั้ง การ ดึง โหน หรือ กระแทกส่วนใด ๆ ของแป้น/ห่วง เพื่อให้บอลที่ควรจะเข้าหรือลูก 50/50 ไม่ลง ดังนั้นฝ่ายยิงลูกจะได้รับคะแนนจากจุดที่ยิง เช่น ยิง 3 แต้มก้
จะได้ 3 แต้ม
Traveling / Walking : คือการเคลื่อนขาหลักออก แล้วไม่ส่งหรือชู๊ต
Double dribbling : การเลี้ยงบอลโดยการ เบิ้ลบอล
Pushing : การผลักผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Hoding : การดึง/เหนี่ยวผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Blocking : การขวางทางผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
Charging : การพุ่งกระแทกผู้เล่นฝ่ายรับ
Basket interfere : การที่ฝ่ายตั้งรับกระโดดปัดลูกบอล ทั้ง ๆ ที่ลูกบาสกำลังเข้าหาห่วงถือเป๊นการผิดกติกา และทั้ง การ ดึง โหน หรือ กระแทกส่วนใด ๆ ของแป้น/ห่วง เพื่อให้บอลที่ควรจะเข้าหรือลูก 50/50 ไม่ลง ดังนั้นฝ่ายยิงลูกจะได้รับคะแนนจากจุดที่ยิง เช่น ยิง 3 แต้มก้
จะได้ 3 แต้ม
คำศัพท์การเลี้ยงบอลต่าง ๆ
Dribble : การเลี้ยงบอลกระชากหนีออกจากฝ่ายตรงข้ามอย่างรวดเร๊ว
Spin Move : เลี้ยงบอลแบบหมุนตัว
Crossover : เลี้ยงบอลโดยการเอาบอลเด้งพื้นเพื่อเปลี่ยนทิศทาง
Spin Move : เลี้ยงบอลแบบหมุนตัว
Crossover : เลี้ยงบอลโดยการเอาบอลเด้งพื้นเพื่อเปลี่ยนทิศทาง
คำศัพท์ Basketball อื่น ๆ
NBA : ลีก Basketball ของอเมริกา
And1 : ทีมสตรีทของอเมริกา จริง ๆ แล้ว And1 แปลว่า การทำคะแนนในขณะโดนทำฟาวล์แล้วลง จะได้แต้มปกติ +2 และเพิ่มอีก +1 จากการชู๊ตลูกโทษ โดยตรงแล้วมาจากคำว่า Foul, Basket Count And One Free Throw
Street ball : การเล่นบาสที่ถนน บ้านเราเรียกสตรีทบาส
AA/Air Alert : โปรแกรมฝึกการกระโดด เป๊นการฝึกที่อันตราย เพราะใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
Turnovers : เป็นการสวนกลับหลังจากทีมใดทีมหนึ่งเสียบอลโดยที่ยังไม่ได้ทำแต้ม
Screen : การนำร่างกายเข้าไปขัดขวางไม่ให้คู่ต่อสู้เข้ามาแย่งบอลจากเพื่อนเราที่ครองบอลอยู่
Block : การป้องกันจากการทำแต้มของฝ่ายบุก
Rebounds : มองหาจุดที่ลูกบาสตกลงมาแล้วคุณก้แค่กระโดดไปคว้าลูกบาสมา
Steal : แย่งลูกบาสจากฝ่ายตรงข้าม ( ขโมยจากคนที่เลี้ยงลูกบาส )
Intercept : แย่งลูกบาสจากฝ่ายตรงข้าม ( ขโมยตอนฝ่ายตรงข้ามส่งลูกบาส )
Block & Catch : การป้องกันจากการทำแต้มของฝ่ายบุกแล้วคว้าลูกบาสในทันที
Face Up : กางแขนให้กว้างแล้วย่อตัวต่ำลงเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้าม
Box Out : กางแขนให้กว้างแล้วย่อตัวต่ำลงเพื่อแย่งชิงพื้นที่ใต้แป้น
Double Team : การประกบฝั่งตรงข้ามถึง 2คน ( 1:2 )
Teamwork : การที่จะมี Teamwork ที่ดีประกอบด้วยหลาย ๆ อย่างเช่น Pass บ่อยๆ วิ่งหาตำแหน่งว่าง ช่วยเพื่อน Screen คู่ต่อสู้และพยายามทำทุกอย่างให้เป๊นประโยชน์กับทีมมากที่สุด
Pass : การส่งบอล
And1 : ทีมสตรีทของอเมริกา จริง ๆ แล้ว And1 แปลว่า การทำคะแนนในขณะโดนทำฟาวล์แล้วลง จะได้แต้มปกติ +2 และเพิ่มอีก +1 จากการชู๊ตลูกโทษ โดยตรงแล้วมาจากคำว่า Foul, Basket Count And One Free Throw
Street ball : การเล่นบาสที่ถนน บ้านเราเรียกสตรีทบาส
AA/Air Alert : โปรแกรมฝึกการกระโดด เป๊นการฝึกที่อันตราย เพราะใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
Turnovers : เป็นการสวนกลับหลังจากทีมใดทีมหนึ่งเสียบอลโดยที่ยังไม่ได้ทำแต้ม
Screen : การนำร่างกายเข้าไปขัดขวางไม่ให้คู่ต่อสู้เข้ามาแย่งบอลจากเพื่อนเราที่ครองบอลอยู่
Block : การป้องกันจากการทำแต้มของฝ่ายบุก
Rebounds : มองหาจุดที่ลูกบาสตกลงมาแล้วคุณก้แค่กระโดดไปคว้าลูกบาสมา
Steal : แย่งลูกบาสจากฝ่ายตรงข้าม ( ขโมยจากคนที่เลี้ยงลูกบาส )
Intercept : แย่งลูกบาสจากฝ่ายตรงข้าม ( ขโมยตอนฝ่ายตรงข้ามส่งลูกบาส )
Block & Catch : การป้องกันจากการทำแต้มของฝ่ายบุกแล้วคว้าลูกบาสในทันที
Face Up : กางแขนให้กว้างแล้วย่อตัวต่ำลงเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้าม
Box Out : กางแขนให้กว้างแล้วย่อตัวต่ำลงเพื่อแย่งชิงพื้นที่ใต้แป้น
Double Team : การประกบฝั่งตรงข้ามถึง 2คน ( 1:2 )
Teamwork : การที่จะมี Teamwork ที่ดีประกอบด้วยหลาย ๆ อย่างเช่น Pass บ่อยๆ วิ่งหาตำแหน่งว่าง ช่วยเพื่อน Screen คู่ต่อสู้และพยายามทำทุกอย่างให้เป๊นประโยชน์กับทีมมากที่สุด
Pass : การส่งบอล